เครื่องมือที่ใช้ทำการประมง

เครื่องมือที่ใช้ทำการประมง
ใช้เครื่องมือทำการประมงถูกที่เพื่ออนาคตที่ดีของสัตว์น้ำ!

December 11, 2006

แหล่งทำการประมง



แหล่งทำการประมง (Fishing Ground)

การจำแนกแหล่งทำการประมง สามารถจำแนกได้ดังนี้ จำแนกตามลักษณะแหล่งน้ำ ดังนี้
1. น้ำจืด • น้ำนิ่ง (Lentic water) ได้แก่ หนอง บึง ทะเลสาบ บ่อ เป็นต้น
• น้ำไหล (Lotic water) ได้แก่ แม่น้ำ คลอง เป็นต้น
2. น้ำเค็ม • ชายฝั่ง (Coastal) • ใกล้ฝั่ง (Inshore)
• นอกฝั่ง (Offshore) • ทะเลลึก/ทะเลหลวง (Deep Sea/High Sea) จำแนกตามกลุ่มชาวประมง ดังนี้
1. ประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก
2. ประมงพาณิชย์
• ในน่านน้ำไทย • นอกน่านน้ำไทย จำแนกตามชนิดสัตว์น้ำ ดังนี้
1. ปลาผิวน้ำ (Pelagic Fish)
2. ปลาหน้าดิน (Demersal Fish)

ปัจจัยที่มีผลต่อแหล่งทำการประมง
• ที่ตั้ง • สภาพอากาศของลมมรสุม • ความเค็มและออกซิเจน • การหมุนเวียนของกระแสน้ำ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างลองติจูด 97 องศาตะวันออก และ 106 องศาตะวันออก และระหว่างแลตติจูด 5 องศาเหนือ และ 21 องศาเหนือ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีด้านที่ติดทะเล 2 ด้าน คือ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน

แหล่งทำการประมงทะเลของประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ คือ
1) แหล่งประมงในน่านน้ำไทย - แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย - แหล่งทำการประมงทางฝั่งอันดามัน
2) แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย
แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางฝั่งอ่าวไทย เป็นดังนี้
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 1,875 กิโลเมตร
- ลักษณะสภาพของทะเลในอ่าวไทยมีลักษณะเป็นที่ลาด
- มีความลึกไม่มากนัก ประมาณ 70-85 เมตร
- สภาพพื้นท้องทะเลเป็นโคลน โคลนปนทราย ทรายปนโคลน และทราย
- เป็นอ่าวแบบกึ่งปิด
- แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย ดังนี้
•เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง (อ่าวไทยตอนบน) •เวฬุ ระยอง (ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย)
•ตาปี (ฝั่งตะวันตกคอนใต้ของอ่าวไทย)-ลมมรสุม •ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ –ตามเข็มนาฬิกา
•ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้-ทวนเข็มนาฬิกา
- แหล่งทำการประมงในอ่าวไทยตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 252,000 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางฝั่งอ่าวไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
เขต EEZ ของไทย 252,000 ตร.กม. และเขตทับซ้อนต่างๆ ดังนี้
• ไทย-กัมพูชา 34000 ตร.กท. • ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม 14000 ตร.กม. • ไทย-มาเลเซีย 4000 ตร.กม.

เขตการประมงทางฝั่งอ่าวไทยแบ่งออกเป็น 5 เขต ดังนี้
• เขต 1 อ่าวไทยด้านตะวันออก ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดตราด,จันทบุรีและระ
• เขต 2 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
• เขต 3 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี
• เขต 4 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
• เขต 5 อ่าวไทยตอนกลาง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่บริเวณกลางอ่าวไทย มีอาณาเขตติดต่อกับเส้นแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซีย เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ลักษณะพื้นท้องทะเลบริเวณชายฝั่งของเขต 1 เป็นทรายปนโคลนและเปลือกหอย บริเวณห่างฝั่งออกไปเป็นทรายปนเปลือกหอย เขต 2, 3 และ 5 ส่วนใหญ่เป็นโคลนเลน เขต 5 พื้นท้องทะเลมีลักษณะเป็นโคลนเหลว แต่ห่างจากฝั่งออกไปจะเป็นโคลนปนทรายกับทรายและเปลือกหอย พื้นท้องทะเลในเขต 1 และ 2 ราบเรียบเหมาะสำหรับการลากอวน บางส่วนของเขต 3, 4 และ 5 ไม่สามารถจะลากอวนได้โดยเฉพาะในเขต 5 ซึ่งอยู่กลางอ่าวและพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นสันสูง 1-2 เมตร

แหล่งทำการประมงฝั่งอันดามัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นดังนี้
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 740 กิโลเมตร
- เป็นที่ราบลาดชัน มีความลึกมากกว่าทางอ่าวไทย
- แม่น้ำที่ไหลเข้าสู่ทะเลอันดามันส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ
- ลักษณะของพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่เป็นโคลนปนทราย
- เป็นลักษณะของไหล่ทวีปที่ค่อนข้างแคบ
- มีความลึกของน้ำมากและกระแสน้ำแรง บางแห่งห่างจากฝั่งประมาณ 30 กิโลเมตรก็จะมีความลึกของน้ำเกิน 100 เมตร
- ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยตรง
- มีแหล่งปะการังมาก
- แหล่งทำการประมงด้านทะเลอันดามันตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 126,000 ตารางกิโลเมตร

เขตการประมงแบ่งเป็น 2 เขต คือ
• เขต 6 ทะเลอันดามันตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
• เขต 7 ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล

แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ
• แหล่งประมง A ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนบน
• แหล่งประมง B ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง
• แหล่งประมง C ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา
• แหล่งประมง D ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศพม่า
• แหล่งประมง E ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศบังคลาเทศพื้นที่ทำการประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ประเทศที่มีการทำสัญญาทำการประมงร่วม ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ อินเดีย และซาอุดิอาระเบีย
LINK >> ข้อมูลเพิ่มเติมที่