เครื่องมือที่ใช้ทำการประมง

เครื่องมือที่ใช้ทำการประมง
ใช้เครื่องมือทำการประมงถูกที่เพื่ออนาคตที่ดีของสัตว์น้ำ!

March 1, 2007

BLOG ที่น่าสนใจ
กลุ่ม ปวส 1
1. กลุ่มที่ 14 เพราะ หน้า Blog มีการพัฒนามากกว่ากลุ่มอื่นๆและเนื้อหามีประโยชน์ ทำให้น่าสนใจ
2. กลุ่มที่ 13 เพราะ เพระรูปแบบมีการพัฒนามากขึ้น มีเนื้อค่นข้างสมบูรณ์และได้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทำลายล้าง
3. กลุ่มที่ 16 เพราะ มีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับป่าชายเลน แต่หน้า Blog ยังไม่ค่อยมีการพัฒนา

กลุ่มปวส 2
1. กลุ่มที่ 2 เพราะ มีการพัฒนาหน้า Blog เนื้อหาเข้าใจง่าย และมีประโยชในด้านการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือทำการประมงได้ถูกต้อง
2. กลุ่มที่ 1 เพราะ หน้า Blog มีการพัฒนา แต่เนื้อหายังไม่มีการสรุปเนื้อหาที่สำคัญทำให้ไม่ค่อยน่าอ่าน
3. กลุ่มที่ 5 เพราะ หน้า Blog เริ่มมีการพัฒนา มีการสรุปเนื้อหาที่ดีขึ้นทำให้สามารถอ่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

February 20, 2007

องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization )



ความเป็นมาของหน่วยงาน
ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้
• บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)• บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)• การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)• จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)• บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)• บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ)
จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง

2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา

3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง

4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง


การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง องค์การสะพานปลาเป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ให้บริการตลาดสินค้าสัตว์น้ำ โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
2. การพัฒนาการประมง การพัฒนาการประมงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์การสะพานปลาดำเนินงานเพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย เช่น การทำประมงอวนล้อมจับน้ำลึก และการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การดำเนินงานโครงการสินเชื่อสำหรับจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำประมง เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ด้อยโอกาสในการดำเนินงานให้สามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
3. การส่งเสริมการประมงการส่งเสริมการประมง เป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการจำหน่ายน้ำมันราคาต่ำกว่าท้องตลาดแก่ชาวประมง โดยดำเนินงานผ่านกลุ่มเกษตรกรทำประมง สหกรณ์ประมง และตัวแทนจำหน่ายน้ำมันในหมู่บ้านชาวประมง ผลการดำเนินงานทำให้ชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับประโยชน์จากการซื้อน้ำมันราคาถูก อันเป็นการลดต้นทุนการทำประมง การจำหน่ายน้ำแข็ง องค์การสะพานปลาได้ทำการผลิตน้ำแข็ง ณ ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวประมง และผู้ค้าสัตว์น้ำโดยไม่ต้องรอน้ำแข็งจากภายนอกท่าเทียบเรือประมง ซึ่งต้องเสียเวลาในการขนส่ง การจำหน่ายสัตว์น้ำ องค์การสะพานปลาได้เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายสัตว์น้ำในลักษณะตลาดกลางภายในท่าเทียบเรือประมง เป็นการรักษาระดับราคาสัตว์น้ำที่เป็นธรรมแกชาวประมงที่นำสัตว์น้ำมาจำหน่าย เป็นการกระตุ้นการแข่งขันการดำเนินธุรกิจแพปลาหน่วยงานองค์การสะพานปลา

สะพานปลากรุงเทพ
http://www.fishmarket.co.th/web/bangkok.html
สะพานปลาสมุทรสาคร
http://www.fishmarket.co.th/web/sakorn.html
สะพานปลาสมุทรปราการ
http://www.fishmarket.co.th/web/pakarn.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-1
http://www.fishmarket.co.th/web/skla.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-2 (ท่าสะอ้าน)
http://www.fishmarket.co.th/web/tasaan.html
ท่าเทียบเรือระนอง
http://www.ranong.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือสุราษฎร์ธานี
http://www.fishmarket.co.th/web/surat.html
ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
http://www.fishmarket.co.th/web/pattanee.html
ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
http://www.phuket.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน
http://www.fishmarket.co.th/web/huahin.html
ท่าเทียบเรือประมงตราด
http://www.fishmarket.co.th/web/trad.html
ท่าเทียบเรือประมงสตูล
http://www.fishmarket.co.th/web/stoon.html
ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี
http://www.fishmarket.co.th/web/parn.html
ท่าเทียบเรือประมงชุมพร
http://www.fishmarket.co.th/web/chumporn.html
ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช
http://www.fishmarket.co.th/web/nkorn.html
ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน
http://www.fishmarket.co.th/web/lungsuan.html
ท่าเทียบเรอประมงอ่างศิลา
http://www.fishmarket.co.th/web/sila.html
ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาศ
http://www.fishmarket.co.th/web/nara.htm

February 8, 2007

คอก


เป็นเครื่องมือประมงประจำที่ พบเฉพาะที่ทะเลสาบสงขลาตอนบนหรือทะเลน้อย ซึ่งเป็นเขตน้ำจืด คอกเป็นเครื่องมือที่ให้สัตว์น้ำที่ขึ้นตามน้ำ ในช่วงปลาขึ้นน้ำหรือขึ้นไปวางไข่ของแต่ละปีเข้าไปติดอยู่ในตัวคอก ซึ่งมีช่องเข้าคล้ายงาแซงทำให้เมื่อน้ำลดปลาจะติดอยู่ในคอก ผู้ทำจะเลือกทำเลที่เป็นปากน้ำเล็ก ๆ คอกจะทำกันในช่วงปลาขึ้นทุกปี ราวเดือนสิงหาคม - กันยายน โดยปลาจะขึ้นตามลำน้ำเข้าไปติดในคอก เจ้าของก็จะพายเรือเข้าไปข้างคอกแล้วใช้สวิงหรือไซผีจับปลาใส่เรือ ซึ่งจะทำในลำน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลลงทะเลสาบน้ำจืดมีระดับน้ำลึกประมาณ 2 -3 เมตร
ผลกระทบคือ จะจับสัตว์น้ำทุกชนิด ปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อนและแม่ปลาที่จะขึ้นไปวางไข่
แหล่งทำการประมง บริเวณปากแม่น้ำ ทะเลสาบ
สัตว์น้ำที่จับได้ สัตว์น้ำทุกชนิด ปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน

January 23, 2007

คราดหอยลาย




คราดหอยลาย เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้คราดมีลักษณะคล้ายตะแกรง และใช้เรือยนต์ลากตะแกรงไปตามผิวดินเพื่อขุดแซะจับหอยลายที่อยู่ใต้ผิวดิน คราดหอยลายถือว่าเป็นเครื่องมือคราดหอยที่ใช้เรือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเครื่องมือประมงประเภทคราด แต่สามารถใช้เรือเล็กได้เช่นกัน

อุปกรณ์
เรือประมง ใช้เรือยาว 6-18 เมตร เครื่องยนต์ 10-250 แรงม้า
คราด 2 อันและคราดสำรองอีก 1 อัน ขนาดของคราดขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ
โครงคราดเป็นเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร
สายซุงเป็นเชือกขนาด 16 มิลลิเมตรยาว 50 เมตร
แหล่งทำการประมง ที่ระดับน้ำลึก 3-15 เมตร แหล่งหอยลายมักอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่น้ำ 2 กระแสมาพบกัน
จังหวัดที่พบ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และฝั่งอันดามันทุกจังหวัด
LINK

แห


แห


แหเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามหมู่บ้านชาวประมงโดยทั่วไป ทั้งในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม ขนาดของแหเส้นรอบวง 10 - 28 ม. ขนาดตาอวนขึ้นอยู่กับสัตว์น้ำเป้าหมาย ถ้าเป็นแหกุ้ง จะมีขนาดตา 20 - 25 มม. แหปลากระบอกใช้ขนาดตา 30 - 35 มม. และแหหมึกจะมีขนาด 25 - 30 มม. ความสูงหรือรัศมีของแหขนาดเล็กทั่วไป ประมาณ 1.70 - 4.50 ม.

ส่วนประกอบ

1. เนื้อแห่ ผูกด้วยเชือกไนล่อน ยาว 5 - 10 ศอก

2. โซ่ตะกั่ว ถ่วงตีนแห

3. สายได ยาว 300 - 500 เซ็นติเมตร

สัตว์น้ำที่จับได้ กุ้ง ปลา หมึก และสัตว์น้ำอื่นๆบริเวณทำการประมง

สถานที่ทำการประมง บริเวณแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ป่าชายเลน และแหล่งน้ำทั่วไป

LINK

http://www.sklonline.com/tools0017.html

อวนเข็นทับตลิ่ง

อวนเข็นทับตลิ่ง

วิธีการทำ ส่วนใหญ่ทำจากอวนในล่อนสีฟ้า มีขนาดช่องตาตั้งแต่ 1-2 มม. นำมาเย็บเป็นถุง หรือขณะทำการประมงกางผืนอวน ให้มีลักษณะเหมือนถุงเพื่อรวบรวมเคย เช่น ระวะ จะประกอบด้วย
· คันรุน ใช้ลำไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร ยาว 520 เซนติเมตร จำนวน 2 ลำ ยึดด้วยน๊อต

· หัวคันรุน ใช้ไม้ทำเป็นรูปเกือกปลายงอน อาจจะรองด้วยยาง ล้อรถ (ยางนอก) หรือถังน้ำมัน
· ถุงอวนรูปกรวย ใช้มุ้งเขียวยาว 50 เซนติเมตร ปากส่วนล่างกว้าง 300 เซนติเมตร
· กระบอกไม้ไผ่ท้ายปิด ใช้ถ่วงท้ายถุงอวน
สัตว์น้ำที่จับ กุ้งเคย
บริเวณทำการประมง
· ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดระยองถึงตราด จะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงธันวาคม
· จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี จะทำการประมงเกือบตลอดปี
· จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร เคยจะชุกชุม ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน
· จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะชุกชุมในเดือนมีนาคม ถึงเมษายน และกรกฎาคมถึงสิงหาคม
· จังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงนราธิวาส ช่วงที่เคยชุกชุม อยู่ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม
LINK

January 21, 2007

เบ็ด

เบ็ดเป็นเครื่องมือที่ใช้จับปลาโดยการใช้เหยื่อล่อ มักจะประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่ ๓ ส่วนคือ ขอเบ็ด หรือตัวเบ็ด สายเบ็ด และคันเบ็ด หรือสิ่งที่ใช้แทนคันเบ็ด
ตัวเบ็ด มีลักษณะเป็นตะขอซึ่งปลายตะขอจะแหลมและมีเงี่ยงสำหรับเกี่ยวเหยื่อและเกี่ยวปากปลาส่วนปลายอีกด้านหนึ่งทำเป็นที่สำหรับผูกสายเบ็ดซึ่งอาจทุบให้แบน เพื่อกันมิให้สายเบ็ดหลุดหรืออาจทำเป็นห่วงกลมสำหรับผูกสายเบ็ดก็ได้ เบ็ดจะมีขนาดแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ในการใช้งาน แต่โดยทั่วไปแล้ว เบ็ดจะมีความยาวจากปลายแหลมสำหรับเกี่ยวถึงปลายสำหรับผูกเชือกประมาณ ๑ - ๓ เซนติเมตร
สายเบ็ด คือเชือกที่ล่ามตัวเบ็ดเข้ากับคันเบ็ด ปัจจุบัน นิยมใช้เอ็นไนลอน อนึ่ง ความยาวของสายเบ็ดจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของเบ็ด อย่างเช่น เบ็ดจ่อม หรือเบ็ดตกนั้น สายเบ็ดจะมีความยาวมากกว่าคันเบ็ดเล็กน้อยซึ่งจะกำหนดโดยนิยมแต่เพียงว่าเมื่อเก็บโดยการพันสายเบ็ดอย่างหลวม ๆ รอบคันเบ็ด หรือเกี่ยวเข้ากับด้ายที่มัดไว้แล้ว ตัวเบ็ดจะต้องอยู่สูงกว่าโคนของคันเบ็ดขึ้นไปประมาณหนึ่งคืบ ปลายด้านหนึ่งของสายเบ็ดจะผูกเข้ากับตัวเบ็ดโดยพยายามให้ตะขอเบ็ดอยู่ในท่าตรงในเบ็ดจ่อม นั้น เหนือตัวเบ็ดขึ้นไปประมาณหนึ่งเซนติเมตรจะมี ตุ้มตะกั่วขนาดเล็กถ่วงไว้ ทุ่นเบ็ด อาจทำอย่างง่าย ๆ จากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
คันเบ็ด มีความยาวประมาณหนึ่งวาหรือมากกว่านั้นแล้ว ก็ยังจะต้องมีลักษณะแข็งแรงในส่วนโคนซึ่งเป็นด้ามจับถือ แต่เรียวลงในส่วนปลายเพื่อให้คันเบ็ดมีสปริงยึดหยุ่นได้ เพราะถ้าคันเบ็ดนั้นแข็งแล้วเมื่อ ฅวิดเบ็ด หรือตวัดเบ็ดยกปลาขึ้นแล้ว การดิ้นของปลาก็อาจทำให้สายเบ็ดขาดหรือคันเบ็ดหักได้
แหล่งทำการประมง บริเวรแม่น้ำลำคลอง ปากอ่าว และบริเวณชายฝั่งทะเล
สัตว์น้ำที่จับได้ สัตว์น้ำทั่วไปที่อาศัยบริเวณนั้นๆ

January 18, 2007

ลอบปู


ลอบปู เป็นเครื่องมือลอบขนาดเล็กต้องใช้เหยื่อล่อ ปัจจุบันชาวประมงหลายรายนำมาใช้จับปูม้าแทนอวนจมปู และใช้จับปูทะเลแทนแร้วปู ลอบปูมีรูปร่างหลายแบบ การวางลอบมีทั้งแบบวงเดียว และแบบวางเป็นราวจำนวนคนที่ใช้ 1 - 4 คน ลอบปูแบ่งตามลักษณะรูปร่างได้ 3 แบบด้วยกัน คือ แบบแรกเรียกว่า ลอบป่าหรือไซนอน เป็นลอบจับปูทะเลในบริเวณช่องน้ำตื้น ในป่าชายเลน ลักษณะรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 26 - 30 ซม. ความยาว 56 - 60 ซม. ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก แต่ละซี่ห่างกัน 2 ซม. งาทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ถักเป็นรูปกรวย หรือรูปสี่เหลี่ยมมีงาอยู่คู่กัน ยาวประมาณ 20 ซม. ตำแหน่งงาส่วนใหญ่อยู่ตรงข้ามกันกับด้านหัวท้ายของลอบ ลอบชนิดนี้จะมีกิ่งไม้ยาวประมาณ 60 ซม. ปลายข้างหนึ่งเป็นรูปขอใช้สำหรับแทงทะลุกึ่งกลางลอบ และยึดลอบให้อยู่กับพื้น มีถุงอวนใส่เหยื่อหรือประป๋องนมข้ม เจาะรูโดยรอบแล้วแขวนไว้กึ่งกลางภายในตัวลอบ จำนวนลอบ 30 - 40 ลูก / ราย

วิธีทำการประมง ลอบปูแบบลอบป่า นำลอบที่ใส่เหยื่อแล้วขังในป่าชายเลนตามร่องน้ำลึก 1 ม. ส่วนใหญ่เป็นเวลากลางวันช่วงน้ำลง ปล่อยทิ้งไว้ 1 คืน จึงทำการกู้ลอบ ส่วนลอบปูแบบเชงเลงก่อนวางจะต้องใส่เหยื่อ และประกอบเข้ากับสายคราวลอบ วางห่างกันประมาณ 10 ม. ซึ่งจะแบ่งลอบออกเป็น 10 ชุด แต่ละแถวมีไม้ปักหรือทุ่นปิดหัว - ท้าย วางไว้ตลอด 7 วัน จึงเก็บขึ้นทำความสะอาด ลอบปูแบบพับจะมีการวาง 2 แบบ แบบอิสระ แยกจากกัน และแบบประกอบเป็นราวแบบเชงเลง แบบแรกจะนิยมกันมากกว่า ซึ่งแบบแรกต้องมีสายทุ่น และทุ่นลอยบอกตำแหน่งลอบโดยมากจะวางเป็นแถว เวลาวางลอบมีทั้งวางในช่วงเช้ามืด และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 4 ซม. จึงกุ้งและเก็บลอบวางตอนเย็น สัตว์น้ำที่จับได้ ปูมา ปูทะเล ปลากะรังขนาดเล็กและหอยหวาน

แหล่งทำการประมง เกาะลิบง เกาะมุก เกาะดอกไม้ เกาะไห อ่าวเจ้าไหม อ่าวปากเมง อ่างฉางหลาง หลังอุทยานเจ้าไหม และปากคลองปอ
LINK:

อวนจมปู (Crab gill nets)

อวนจมปู (Crab gill nets)
เครื่องมืออวนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ อวนจม หรืออวนลอยปูม้า อวนจมปูทะเลหรืออวนร่อง โดยเฉพาะอวนจมปูม้า จัดว่าเป็นเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่พบมากที่สุดเกือบทุกหมู่บ้าน บางรายใช้ตลอดปี แต่ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปใช้เครื่องมืออื่นๆ ในช่วงที่เครื่องมืออื่นทำรายได้ให้มากกว่าการใช้ อวนจมปูม้า ส่วนอวนจมปูทะเลมีการใช้กันน้อยมาก และมีความยาวอวนสั้นกว่า อวนจมปูม้า ส่วนใหญ่ใช้ทำการประมงในบริเวณร่องแม่น้ำ คลองน้ำเค็มที่มีปูทะเลชุกชุม
อวนจมปูม้ามีความยาว ตั้งแต่ 350 ถึง 1,500 เมตร ขึ้นอยู่กับว่าจะนำอวนแต่ละชุดมาต่อกันมากน้อยเพียงใด อวนชุดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ อวนเอ็นขนาดเบอร์ 0.20, 0.25 หรือ 0.30 อีกชนิดหนึ่งพบน้อยเป็น เนื้ออวนไนล่อนสีเขียวหรือขาว ขนาดเบอร์ 210d/4 ขนาดตาอวนจะขึ้นอยู่กับ ขนาดของปูม้า ได้แก่ ขนาดตา 75,80,85,90,100,115,120 มิลลิเมตร ความลึกอวน 9 - 30 ตา ส่วนใหญ่ 14 - 25 ตา ทุ่นพยุง อวนชนิดที่นิยมใช้กันมากเป็นทุ่น พลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.80 เซนติเมตร หนา 2.20 เซนติเมตร ผูกกับเชือกคร่าวบนมีระยะ ห่างกัน 1.45 - 11.00 เมตร ส่วนใหญ่ 2.50 - 3.00 เมตร ทุ่นอีกชนิดหนึ่งเป็นทุ่นโฟมนิ่ม ตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาด 6.00 x 1.50 x 1.00 เซนติเมตร ผูกห่างกัน 1.70 - 3.00 เมตร น้ำหนักถ่วงคร่าวล่าง เป็นตะกั่วขนาด 10 กรัม/ลูก ผูกห่างกัน 36 - 80 เซนติเมตร น้ำหนักถ่วง ปลายสุดผืนอวนข้าง ละ 1 - 7 กิโลกรัม
จังหวัดที่พบมาก จังหวัดที่ใช้อวนจมปูม้า ได้แก่ จังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด ส่วน อวนจมปูทะเล ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง สมุทรปราการ และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
สัตว์น้ำที่จับได้ ได้แก่ ปูม้า ปูลาย ปูดาว ปูตายาว ปูทะเล และสัตว์น้ำชนิดที่อาศัยที่พื้นทะเล อย่างเช่น ปลากระเบน หอยขนาดใหญ่ชนิดต่างๆ เป็นต้น
LINK:

January 9, 2007


บาม

บามเป็นเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ใช้จับปลากระบอกบริเวณชายฝั่ง มีลักษณะคล้ายยอขนาดใหญ่ แต่ไม่มีคันยอ และปูผืนอวนไว้ที่พื้นทะเล รอเวลาให้ปลากระบอกเข้ามาบริเวณศูนย์กลางของผืนอวน แล้วยกขอบอวนทั้ง 4 ด้านให้พ้นผิวน้ำ จำนวนคนที่ใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางเครื่องมือ บามจะมี 2 แบบ คือ แบบมีถุง และไม่มีถุง บามที่ใช้ในทะเลสาบสงขลาเป็นบามแบบไม่มีถุง ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่ง ห่างฝั่ง 10 - 50 ม น้ำลึก 1.50 - 3 .00ม. ประกอบด้วยร้านนั่ง หรือร้านบาม ทำด้วยเสาไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 30 ซม. ยาว 10 - 16 ม. ปักติดกับพื้นคลองเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดพื้นทีประมาณ 3 x 3 ม. หรือใช้เพียง 2 ต้น แล้วใช้ไม้ยึดให้แข็งแรง ด้านใกล้ฝั่งใช้ไม้ทำเป็นขั้นบันได ด้านบนสุดมุงด้วยทางมะพร้าว ถัดลงมามีไม้พื้นปูเป็นที่นั่ง ใต้ที่นั่งมีกว้านไม้แบบมือหมุน 1 อัน และไม้พาดสำหรับยืนหมุนกว้าน ร้านนั่งจะยึดให้แข็งแรง โดยใช้เชือกผูกโยงกับเสาทั้ง 4 ต้น แล้วนำไปยึดกับหลักที่ปักห่างออกไปเล็กน้อย มีปีกทำด้วยหลักไม้และเศษอวนหนึ่งปีกอยู่ด้านในระหว่างริมฝั่งกับร้าน การทำประมงในเวลากลางวันช่วงน้ำขึ้นโดยชาวประมงประกอบอวนเข้ากับคันบาม แล้วจับคันบามและผืนอวนทั้งหมดไว้ที่พื้น ขึ้นไปนั่งเฝ้าดูฝูงปลาบนร้าน รอเวลาจนกว่าฝูงปลากระบอกว่ายมาที่กึ่งกลางผืนอวน จึงกว้านหรือฉุดเชือกผูกมุมอวนด้านใน เพื่อยกขอบอวนทั้ง 4 ด้าน สูงพ้นผิวน้ำประมาณ 1 ม. ทำให้ปลาหนีออกไปไม่ได้จากนั้นจึงลงจากร้านนั่ง เพื่อกู้อวนและตักปลาใส่เรือ เสร็จแล้วทำซ้ำใหม่แบบเดิม จำนวนบามที่พบในทะเลสาบสงขลา มีทั้งหมด 66 ร้าน โดยพบบริเวณปากทะเลสาบสงขลา
LINK:

January 7, 2007

ไซนั่ง
ไซนั่ง โป๊ะน้ำตื้นหรือลอบยืน เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดเดียวกัน แต่ใช้ในหนังสือราชการและตามความนิยมของชาวประมงที่แตกต่างกัน โดยไซนั่งหรือโป๊ะน้ำตื้นถูกกำหนดชื่อโดย ประกาศของจังหวัดสงขลา ส่วนชื่อไซนั่งหรือลอบยืน เป็นคำนิยมที่ใช้กันในหมู่ชาวประมง และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น โดยปัจจุบันไซนั่ง เป็นชื่อเรียกเครื่องมือประมง ที่ทุกคนยอมรับ ไซนั่งประกอบด้วย โครงไม้รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์สูง 1.5 ถึง 2 เมตร ยาวประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 0.80 เมตร มีช่องเปิดสำหรับสัตว์น้ำทางหนึ่ง ปากช่องเปิดตลอด ความสูงของไซนั่ง มีงาแซงกันสัตว์น้ำว่ายน้ำย้อนกลับออกมา ทางด้านตรงข้ามทำเป็นช่องขนาดเล็ก เปิดปิดได้ อยู่ตรงส่วนล่างของไซนั่ง สำหรับเก็บรวบรวมสัตว์น้ำ ตัวโครงของไซนั่งบุด้วยอวนโพลี่ ช่องตา 1.5 เซนติเมตร มีโครงไม้ประกอบเชือกทำเป็นกว้านไม้ขัด สำหรับชักลอกตัวไซนั่งขึ้นพื้นผิวน้ำ และทำการรวบรวมสัตว์น้ำที่จับได้ ปีกแซงของไซนั่งใช้ข่ายขนาดตา 3 เซนติเมตร กางกั้นทางเดินของสัตว์น้ำ ไซนั่งหนึ่งลูกมีผลจับสัตว์น้ำโดยเฉลี่ย 1.46 กิโลกรัมต่อหนึ่งคืน ชาวประมงจะวางไซนั่งในตอนเย็นและเก็บในตอนเช้าตรู่ ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1.00 - 2.00 เมตร และจะจุดตะเกียงน้ำมันตั้งไว้ส่วนบนของไซนั่งด้วย เพื่อให้มีแสงสว่างช่วยล่อกุ้งและปลาเข้ามา ไซนั่งเป็นเครื่องมือประมงที่ใช้กันแพร่หลายในทะเลสาบสงขลาตั้งแต่บริเวทะเลสาบสงขลาตอนล่างในจังหวัดสงขลา ถึงอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำเค็มที่มีขนาดเล็ก และจับได้ครั้งละค่อนข้างมากโดยเฉพาะพวกกุ้งทะเล จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานทางด้านการประมงเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือประมงในทะเลสาบสงขลา จำนวนไซนั่งในทะเลสาบ (จังหวัดสงขลา) มีจำนวน 25,178 ลูก จังหวัดพัทลุงมี 4,426 ลูก ไซนั่งจะวางอย่างหนาแน่นที่สุดในทะเลสาบตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ขวางกั้นการขึ้นลงของน้ำ และปิดทางเดินของสัตว์น้ำเข้าสู่ทะเลสาบตอนกลาง
LINK:
โพงพาง





โพงพางเป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนรูปถุง ปากอวนติดตั้งให้การรับสัตว์น้ำที่พัดตามกระแสน้ำเข้าถุงอวน โพงพางหลักเป็นโพงพางที่พบมากที่สุด อวนเป็นรูปถุงปากกว้าง ปากอวนสูงใกล้เคียงกับความลึกของน้ำช่วงขึ้นสูงสุดขนาดประมาณ 4x4 หรือ 8x6 เมตร ความยาวจากปากอวนถึงก้นถุง 20 - 25 เมตร ตัวอวนจะเรียวเล็กลงปากอวนจะวางในทิศทางหันรับกับกระแสน้ำ มักห่างกันตามขนาดปากอวน ราว 4-8 เมตร ด้านบนมีไม้คาดไว้กันไม้หลักเอนเข้าหากัน ปากอวนจะมัดกับเสาหลัก ส่วนตัวอวนจะกดไว้ด้วยไม้กด โดยไม่ใช้ทุ่นและตะกั่วถ่วง ส่วนเนื้ออวนเป็นโพลีเอทธีลีน ที่บริเวณปากจะมีขนาดใหญ่ที่สุด แล้วเล็กลงมาตามลำดับ ส่วนที่เป็นก้นถุงยาว 1.5 - 3 เมตร มักใช้ขนาดตา 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ปลายถุงสามารถเปิดออกได้โดยมัดเชือกไว้ การวางโพงพางจะทำหลายช่องเรียงกันเป็นแถวประมาณ 6 -10 ช่อง ทำได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงน้ำขึ้นเต็มที่หรือลงเต็มที่โดยประกอบอวนเข้ากับไม้กดอวน แล้วนำไปผูกกับไม้หลัก แล้วจอดเรือไม้ที่ตำแหน่งก้นถุง รอให้กระแสน้ำพัดสัตว์น้ำเข้าอวนสักพักขึงกู้ก้นอวนขึ้นมา เทสัตว์น้ำออก แล้วมัดก้นถุงวางใหม่ต่อไป โพงพางจะใช้ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1 -6 เมตร และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี สัตว์น้ำที่จับได้ คือ กุ้ง ปู และปลาที่ชอบอยู่ในเขตน้ำกร่อย ผลกระทบ คือ จะจับสัตว์น้ำตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน และจับอย่างไม่แยกประเภท นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่จัดว่ากีดขวางทางเดินเรือทั้งขณะทำการประมง และหยุดทำการประมง เพราะปักหลักทิ้งไว้ จำนวนโพงพางในทะเลสาบสงขลา (จังหวัดสงขลา) มี 1,550 ช่อง จังหวัดพัทลุงมี 524 ช่อง ซึ่งจะมีความหนาแน่นบริเวณปากทะเลสาบสงขลา ถึงเกาะยอ
LINK:
http://www.sklonline.com/tools0003.html