เครื่องมือที่ใช้ทำการประมง

เครื่องมือที่ใช้ทำการประมง
ใช้เครื่องมือทำการประมงถูกที่เพื่ออนาคตที่ดีของสัตว์น้ำ!

March 1, 2007

BLOG ที่น่าสนใจ
กลุ่ม ปวส 1
1. กลุ่มที่ 14 เพราะ หน้า Blog มีการพัฒนามากกว่ากลุ่มอื่นๆและเนื้อหามีประโยชน์ ทำให้น่าสนใจ
2. กลุ่มที่ 13 เพราะ เพระรูปแบบมีการพัฒนามากขึ้น มีเนื้อค่นข้างสมบูรณ์และได้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทำลายล้าง
3. กลุ่มที่ 16 เพราะ มีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับป่าชายเลน แต่หน้า Blog ยังไม่ค่อยมีการพัฒนา

กลุ่มปวส 2
1. กลุ่มที่ 2 เพราะ มีการพัฒนาหน้า Blog เนื้อหาเข้าใจง่าย และมีประโยชในด้านการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือทำการประมงได้ถูกต้อง
2. กลุ่มที่ 1 เพราะ หน้า Blog มีการพัฒนา แต่เนื้อหายังไม่มีการสรุปเนื้อหาที่สำคัญทำให้ไม่ค่อยน่าอ่าน
3. กลุ่มที่ 5 เพราะ หน้า Blog เริ่มมีการพัฒนา มีการสรุปเนื้อหาที่ดีขึ้นทำให้สามารถอ่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

February 20, 2007

องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization )



ความเป็นมาของหน่วยงาน
ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้
• บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)• บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)• การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)• จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)• บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)• บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ)
จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง

2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา

3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง

4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง


การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง องค์การสะพานปลาเป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ให้บริการตลาดสินค้าสัตว์น้ำ โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
2. การพัฒนาการประมง การพัฒนาการประมงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์การสะพานปลาดำเนินงานเพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย เช่น การทำประมงอวนล้อมจับน้ำลึก และการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การดำเนินงานโครงการสินเชื่อสำหรับจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำประมง เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ด้อยโอกาสในการดำเนินงานให้สามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
3. การส่งเสริมการประมงการส่งเสริมการประมง เป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการจำหน่ายน้ำมันราคาต่ำกว่าท้องตลาดแก่ชาวประมง โดยดำเนินงานผ่านกลุ่มเกษตรกรทำประมง สหกรณ์ประมง และตัวแทนจำหน่ายน้ำมันในหมู่บ้านชาวประมง ผลการดำเนินงานทำให้ชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับประโยชน์จากการซื้อน้ำมันราคาถูก อันเป็นการลดต้นทุนการทำประมง การจำหน่ายน้ำแข็ง องค์การสะพานปลาได้ทำการผลิตน้ำแข็ง ณ ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวประมง และผู้ค้าสัตว์น้ำโดยไม่ต้องรอน้ำแข็งจากภายนอกท่าเทียบเรือประมง ซึ่งต้องเสียเวลาในการขนส่ง การจำหน่ายสัตว์น้ำ องค์การสะพานปลาได้เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายสัตว์น้ำในลักษณะตลาดกลางภายในท่าเทียบเรือประมง เป็นการรักษาระดับราคาสัตว์น้ำที่เป็นธรรมแกชาวประมงที่นำสัตว์น้ำมาจำหน่าย เป็นการกระตุ้นการแข่งขันการดำเนินธุรกิจแพปลาหน่วยงานองค์การสะพานปลา

สะพานปลากรุงเทพ
http://www.fishmarket.co.th/web/bangkok.html
สะพานปลาสมุทรสาคร
http://www.fishmarket.co.th/web/sakorn.html
สะพานปลาสมุทรปราการ
http://www.fishmarket.co.th/web/pakarn.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-1
http://www.fishmarket.co.th/web/skla.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-2 (ท่าสะอ้าน)
http://www.fishmarket.co.th/web/tasaan.html
ท่าเทียบเรือระนอง
http://www.ranong.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือสุราษฎร์ธานี
http://www.fishmarket.co.th/web/surat.html
ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
http://www.fishmarket.co.th/web/pattanee.html
ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
http://www.phuket.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน
http://www.fishmarket.co.th/web/huahin.html
ท่าเทียบเรือประมงตราด
http://www.fishmarket.co.th/web/trad.html
ท่าเทียบเรือประมงสตูล
http://www.fishmarket.co.th/web/stoon.html
ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี
http://www.fishmarket.co.th/web/parn.html
ท่าเทียบเรือประมงชุมพร
http://www.fishmarket.co.th/web/chumporn.html
ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช
http://www.fishmarket.co.th/web/nkorn.html
ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน
http://www.fishmarket.co.th/web/lungsuan.html
ท่าเทียบเรอประมงอ่างศิลา
http://www.fishmarket.co.th/web/sila.html
ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาศ
http://www.fishmarket.co.th/web/nara.htm

February 8, 2007

คอก


เป็นเครื่องมือประมงประจำที่ พบเฉพาะที่ทะเลสาบสงขลาตอนบนหรือทะเลน้อย ซึ่งเป็นเขตน้ำจืด คอกเป็นเครื่องมือที่ให้สัตว์น้ำที่ขึ้นตามน้ำ ในช่วงปลาขึ้นน้ำหรือขึ้นไปวางไข่ของแต่ละปีเข้าไปติดอยู่ในตัวคอก ซึ่งมีช่องเข้าคล้ายงาแซงทำให้เมื่อน้ำลดปลาจะติดอยู่ในคอก ผู้ทำจะเลือกทำเลที่เป็นปากน้ำเล็ก ๆ คอกจะทำกันในช่วงปลาขึ้นทุกปี ราวเดือนสิงหาคม - กันยายน โดยปลาจะขึ้นตามลำน้ำเข้าไปติดในคอก เจ้าของก็จะพายเรือเข้าไปข้างคอกแล้วใช้สวิงหรือไซผีจับปลาใส่เรือ ซึ่งจะทำในลำน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลลงทะเลสาบน้ำจืดมีระดับน้ำลึกประมาณ 2 -3 เมตร
ผลกระทบคือ จะจับสัตว์น้ำทุกชนิด ปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อนและแม่ปลาที่จะขึ้นไปวางไข่
แหล่งทำการประมง บริเวณปากแม่น้ำ ทะเลสาบ
สัตว์น้ำที่จับได้ สัตว์น้ำทุกชนิด ปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน

January 23, 2007

คราดหอยลาย




คราดหอยลาย เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้คราดมีลักษณะคล้ายตะแกรง และใช้เรือยนต์ลากตะแกรงไปตามผิวดินเพื่อขุดแซะจับหอยลายที่อยู่ใต้ผิวดิน คราดหอยลายถือว่าเป็นเครื่องมือคราดหอยที่ใช้เรือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเครื่องมือประมงประเภทคราด แต่สามารถใช้เรือเล็กได้เช่นกัน

อุปกรณ์
เรือประมง ใช้เรือยาว 6-18 เมตร เครื่องยนต์ 10-250 แรงม้า
คราด 2 อันและคราดสำรองอีก 1 อัน ขนาดของคราดขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ
โครงคราดเป็นเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร
สายซุงเป็นเชือกขนาด 16 มิลลิเมตรยาว 50 เมตร
แหล่งทำการประมง ที่ระดับน้ำลึก 3-15 เมตร แหล่งหอยลายมักอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่น้ำ 2 กระแสมาพบกัน
จังหวัดที่พบ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และฝั่งอันดามันทุกจังหวัด
LINK

แห


แห


แหเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามหมู่บ้านชาวประมงโดยทั่วไป ทั้งในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม ขนาดของแหเส้นรอบวง 10 - 28 ม. ขนาดตาอวนขึ้นอยู่กับสัตว์น้ำเป้าหมาย ถ้าเป็นแหกุ้ง จะมีขนาดตา 20 - 25 มม. แหปลากระบอกใช้ขนาดตา 30 - 35 มม. และแหหมึกจะมีขนาด 25 - 30 มม. ความสูงหรือรัศมีของแหขนาดเล็กทั่วไป ประมาณ 1.70 - 4.50 ม.

ส่วนประกอบ

1. เนื้อแห่ ผูกด้วยเชือกไนล่อน ยาว 5 - 10 ศอก

2. โซ่ตะกั่ว ถ่วงตีนแห

3. สายได ยาว 300 - 500 เซ็นติเมตร

สัตว์น้ำที่จับได้ กุ้ง ปลา หมึก และสัตว์น้ำอื่นๆบริเวณทำการประมง

สถานที่ทำการประมง บริเวณแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ป่าชายเลน และแหล่งน้ำทั่วไป

LINK

http://www.sklonline.com/tools0017.html

อวนเข็นทับตลิ่ง

อวนเข็นทับตลิ่ง

วิธีการทำ ส่วนใหญ่ทำจากอวนในล่อนสีฟ้า มีขนาดช่องตาตั้งแต่ 1-2 มม. นำมาเย็บเป็นถุง หรือขณะทำการประมงกางผืนอวน ให้มีลักษณะเหมือนถุงเพื่อรวบรวมเคย เช่น ระวะ จะประกอบด้วย
· คันรุน ใช้ลำไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร ยาว 520 เซนติเมตร จำนวน 2 ลำ ยึดด้วยน๊อต

· หัวคันรุน ใช้ไม้ทำเป็นรูปเกือกปลายงอน อาจจะรองด้วยยาง ล้อรถ (ยางนอก) หรือถังน้ำมัน
· ถุงอวนรูปกรวย ใช้มุ้งเขียวยาว 50 เซนติเมตร ปากส่วนล่างกว้าง 300 เซนติเมตร
· กระบอกไม้ไผ่ท้ายปิด ใช้ถ่วงท้ายถุงอวน
สัตว์น้ำที่จับ กุ้งเคย
บริเวณทำการประมง
· ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดระยองถึงตราด จะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงธันวาคม
· จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี จะทำการประมงเกือบตลอดปี
· จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร เคยจะชุกชุม ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน
· จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะชุกชุมในเดือนมีนาคม ถึงเมษายน และกรกฎาคมถึงสิงหาคม
· จังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงนราธิวาส ช่วงที่เคยชุกชุม อยู่ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม
LINK

January 21, 2007

เบ็ด

เบ็ดเป็นเครื่องมือที่ใช้จับปลาโดยการใช้เหยื่อล่อ มักจะประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่ ๓ ส่วนคือ ขอเบ็ด หรือตัวเบ็ด สายเบ็ด และคันเบ็ด หรือสิ่งที่ใช้แทนคันเบ็ด
ตัวเบ็ด มีลักษณะเป็นตะขอซึ่งปลายตะขอจะแหลมและมีเงี่ยงสำหรับเกี่ยวเหยื่อและเกี่ยวปากปลาส่วนปลายอีกด้านหนึ่งทำเป็นที่สำหรับผูกสายเบ็ดซึ่งอาจทุบให้แบน เพื่อกันมิให้สายเบ็ดหลุดหรืออาจทำเป็นห่วงกลมสำหรับผูกสายเบ็ดก็ได้ เบ็ดจะมีขนาดแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ในการใช้งาน แต่โดยทั่วไปแล้ว เบ็ดจะมีความยาวจากปลายแหลมสำหรับเกี่ยวถึงปลายสำหรับผูกเชือกประมาณ ๑ - ๓ เซนติเมตร
สายเบ็ด คือเชือกที่ล่ามตัวเบ็ดเข้ากับคันเบ็ด ปัจจุบัน นิยมใช้เอ็นไนลอน อนึ่ง ความยาวของสายเบ็ดจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของเบ็ด อย่างเช่น เบ็ดจ่อม หรือเบ็ดตกนั้น สายเบ็ดจะมีความยาวมากกว่าคันเบ็ดเล็กน้อยซึ่งจะกำหนดโดยนิยมแต่เพียงว่าเมื่อเก็บโดยการพันสายเบ็ดอย่างหลวม ๆ รอบคันเบ็ด หรือเกี่ยวเข้ากับด้ายที่มัดไว้แล้ว ตัวเบ็ดจะต้องอยู่สูงกว่าโคนของคันเบ็ดขึ้นไปประมาณหนึ่งคืบ ปลายด้านหนึ่งของสายเบ็ดจะผูกเข้ากับตัวเบ็ดโดยพยายามให้ตะขอเบ็ดอยู่ในท่าตรงในเบ็ดจ่อม นั้น เหนือตัวเบ็ดขึ้นไปประมาณหนึ่งเซนติเมตรจะมี ตุ้มตะกั่วขนาดเล็กถ่วงไว้ ทุ่นเบ็ด อาจทำอย่างง่าย ๆ จากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
คันเบ็ด มีความยาวประมาณหนึ่งวาหรือมากกว่านั้นแล้ว ก็ยังจะต้องมีลักษณะแข็งแรงในส่วนโคนซึ่งเป็นด้ามจับถือ แต่เรียวลงในส่วนปลายเพื่อให้คันเบ็ดมีสปริงยึดหยุ่นได้ เพราะถ้าคันเบ็ดนั้นแข็งแล้วเมื่อ ฅวิดเบ็ด หรือตวัดเบ็ดยกปลาขึ้นแล้ว การดิ้นของปลาก็อาจทำให้สายเบ็ดขาดหรือคันเบ็ดหักได้
แหล่งทำการประมง บริเวรแม่น้ำลำคลอง ปากอ่าว และบริเวณชายฝั่งทะเล
สัตว์น้ำที่จับได้ สัตว์น้ำทั่วไปที่อาศัยบริเวณนั้นๆ

January 18, 2007

ลอบปู


ลอบปู เป็นเครื่องมือลอบขนาดเล็กต้องใช้เหยื่อล่อ ปัจจุบันชาวประมงหลายรายนำมาใช้จับปูม้าแทนอวนจมปู และใช้จับปูทะเลแทนแร้วปู ลอบปูมีรูปร่างหลายแบบ การวางลอบมีทั้งแบบวงเดียว และแบบวางเป็นราวจำนวนคนที่ใช้ 1 - 4 คน ลอบปูแบ่งตามลักษณะรูปร่างได้ 3 แบบด้วยกัน คือ แบบแรกเรียกว่า ลอบป่าหรือไซนอน เป็นลอบจับปูทะเลในบริเวณช่องน้ำตื้น ในป่าชายเลน ลักษณะรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 26 - 30 ซม. ความยาว 56 - 60 ซม. ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก แต่ละซี่ห่างกัน 2 ซม. งาทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ถักเป็นรูปกรวย หรือรูปสี่เหลี่ยมมีงาอยู่คู่กัน ยาวประมาณ 20 ซม. ตำแหน่งงาส่วนใหญ่อยู่ตรงข้ามกันกับด้านหัวท้ายของลอบ ลอบชนิดนี้จะมีกิ่งไม้ยาวประมาณ 60 ซม. ปลายข้างหนึ่งเป็นรูปขอใช้สำหรับแทงทะลุกึ่งกลางลอบ และยึดลอบให้อยู่กับพื้น มีถุงอวนใส่เหยื่อหรือประป๋องนมข้ม เจาะรูโดยรอบแล้วแขวนไว้กึ่งกลางภายในตัวลอบ จำนวนลอบ 30 - 40 ลูก / ราย

วิธีทำการประมง ลอบปูแบบลอบป่า นำลอบที่ใส่เหยื่อแล้วขังในป่าชายเลนตามร่องน้ำลึก 1 ม. ส่วนใหญ่เป็นเวลากลางวันช่วงน้ำลง ปล่อยทิ้งไว้ 1 คืน จึงทำการกู้ลอบ ส่วนลอบปูแบบเชงเลงก่อนวางจะต้องใส่เหยื่อ และประกอบเข้ากับสายคราวลอบ วางห่างกันประมาณ 10 ม. ซึ่งจะแบ่งลอบออกเป็น 10 ชุด แต่ละแถวมีไม้ปักหรือทุ่นปิดหัว - ท้าย วางไว้ตลอด 7 วัน จึงเก็บขึ้นทำความสะอาด ลอบปูแบบพับจะมีการวาง 2 แบบ แบบอิสระ แยกจากกัน และแบบประกอบเป็นราวแบบเชงเลง แบบแรกจะนิยมกันมากกว่า ซึ่งแบบแรกต้องมีสายทุ่น และทุ่นลอยบอกตำแหน่งลอบโดยมากจะวางเป็นแถว เวลาวางลอบมีทั้งวางในช่วงเช้ามืด และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 4 ซม. จึงกุ้งและเก็บลอบวางตอนเย็น สัตว์น้ำที่จับได้ ปูมา ปูทะเล ปลากะรังขนาดเล็กและหอยหวาน

แหล่งทำการประมง เกาะลิบง เกาะมุก เกาะดอกไม้ เกาะไห อ่าวเจ้าไหม อ่าวปากเมง อ่างฉางหลาง หลังอุทยานเจ้าไหม และปากคลองปอ
LINK:

อวนจมปู (Crab gill nets)

อวนจมปู (Crab gill nets)
เครื่องมืออวนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ อวนจม หรืออวนลอยปูม้า อวนจมปูทะเลหรืออวนร่อง โดยเฉพาะอวนจมปูม้า จัดว่าเป็นเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่พบมากที่สุดเกือบทุกหมู่บ้าน บางรายใช้ตลอดปี แต่ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปใช้เครื่องมืออื่นๆ ในช่วงที่เครื่องมืออื่นทำรายได้ให้มากกว่าการใช้ อวนจมปูม้า ส่วนอวนจมปูทะเลมีการใช้กันน้อยมาก และมีความยาวอวนสั้นกว่า อวนจมปูม้า ส่วนใหญ่ใช้ทำการประมงในบริเวณร่องแม่น้ำ คลองน้ำเค็มที่มีปูทะเลชุกชุม
อวนจมปูม้ามีความยาว ตั้งแต่ 350 ถึง 1,500 เมตร ขึ้นอยู่กับว่าจะนำอวนแต่ละชุดมาต่อกันมากน้อยเพียงใด อวนชุดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ อวนเอ็นขนาดเบอร์ 0.20, 0.25 หรือ 0.30 อีกชนิดหนึ่งพบน้อยเป็น เนื้ออวนไนล่อนสีเขียวหรือขาว ขนาดเบอร์ 210d/4 ขนาดตาอวนจะขึ้นอยู่กับ ขนาดของปูม้า ได้แก่ ขนาดตา 75,80,85,90,100,115,120 มิลลิเมตร ความลึกอวน 9 - 30 ตา ส่วนใหญ่ 14 - 25 ตา ทุ่นพยุง อวนชนิดที่นิยมใช้กันมากเป็นทุ่น พลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.80 เซนติเมตร หนา 2.20 เซนติเมตร ผูกกับเชือกคร่าวบนมีระยะ ห่างกัน 1.45 - 11.00 เมตร ส่วนใหญ่ 2.50 - 3.00 เมตร ทุ่นอีกชนิดหนึ่งเป็นทุ่นโฟมนิ่ม ตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาด 6.00 x 1.50 x 1.00 เซนติเมตร ผูกห่างกัน 1.70 - 3.00 เมตร น้ำหนักถ่วงคร่าวล่าง เป็นตะกั่วขนาด 10 กรัม/ลูก ผูกห่างกัน 36 - 80 เซนติเมตร น้ำหนักถ่วง ปลายสุดผืนอวนข้าง ละ 1 - 7 กิโลกรัม
จังหวัดที่พบมาก จังหวัดที่ใช้อวนจมปูม้า ได้แก่ จังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด ส่วน อวนจมปูทะเล ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง สมุทรปราการ และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
สัตว์น้ำที่จับได้ ได้แก่ ปูม้า ปูลาย ปูดาว ปูตายาว ปูทะเล และสัตว์น้ำชนิดที่อาศัยที่พื้นทะเล อย่างเช่น ปลากระเบน หอยขนาดใหญ่ชนิดต่างๆ เป็นต้น
LINK:

January 9, 2007


บาม

บามเป็นเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ใช้จับปลากระบอกบริเวณชายฝั่ง มีลักษณะคล้ายยอขนาดใหญ่ แต่ไม่มีคันยอ และปูผืนอวนไว้ที่พื้นทะเล รอเวลาให้ปลากระบอกเข้ามาบริเวณศูนย์กลางของผืนอวน แล้วยกขอบอวนทั้ง 4 ด้านให้พ้นผิวน้ำ จำนวนคนที่ใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางเครื่องมือ บามจะมี 2 แบบ คือ แบบมีถุง และไม่มีถุง บามที่ใช้ในทะเลสาบสงขลาเป็นบามแบบไม่มีถุง ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่ง ห่างฝั่ง 10 - 50 ม น้ำลึก 1.50 - 3 .00ม. ประกอบด้วยร้านนั่ง หรือร้านบาม ทำด้วยเสาไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 30 ซม. ยาว 10 - 16 ม. ปักติดกับพื้นคลองเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดพื้นทีประมาณ 3 x 3 ม. หรือใช้เพียง 2 ต้น แล้วใช้ไม้ยึดให้แข็งแรง ด้านใกล้ฝั่งใช้ไม้ทำเป็นขั้นบันได ด้านบนสุดมุงด้วยทางมะพร้าว ถัดลงมามีไม้พื้นปูเป็นที่นั่ง ใต้ที่นั่งมีกว้านไม้แบบมือหมุน 1 อัน และไม้พาดสำหรับยืนหมุนกว้าน ร้านนั่งจะยึดให้แข็งแรง โดยใช้เชือกผูกโยงกับเสาทั้ง 4 ต้น แล้วนำไปยึดกับหลักที่ปักห่างออกไปเล็กน้อย มีปีกทำด้วยหลักไม้และเศษอวนหนึ่งปีกอยู่ด้านในระหว่างริมฝั่งกับร้าน การทำประมงในเวลากลางวันช่วงน้ำขึ้นโดยชาวประมงประกอบอวนเข้ากับคันบาม แล้วจับคันบามและผืนอวนทั้งหมดไว้ที่พื้น ขึ้นไปนั่งเฝ้าดูฝูงปลาบนร้าน รอเวลาจนกว่าฝูงปลากระบอกว่ายมาที่กึ่งกลางผืนอวน จึงกว้านหรือฉุดเชือกผูกมุมอวนด้านใน เพื่อยกขอบอวนทั้ง 4 ด้าน สูงพ้นผิวน้ำประมาณ 1 ม. ทำให้ปลาหนีออกไปไม่ได้จากนั้นจึงลงจากร้านนั่ง เพื่อกู้อวนและตักปลาใส่เรือ เสร็จแล้วทำซ้ำใหม่แบบเดิม จำนวนบามที่พบในทะเลสาบสงขลา มีทั้งหมด 66 ร้าน โดยพบบริเวณปากทะเลสาบสงขลา
LINK:

January 7, 2007

ไซนั่ง
ไซนั่ง โป๊ะน้ำตื้นหรือลอบยืน เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดเดียวกัน แต่ใช้ในหนังสือราชการและตามความนิยมของชาวประมงที่แตกต่างกัน โดยไซนั่งหรือโป๊ะน้ำตื้นถูกกำหนดชื่อโดย ประกาศของจังหวัดสงขลา ส่วนชื่อไซนั่งหรือลอบยืน เป็นคำนิยมที่ใช้กันในหมู่ชาวประมง และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น โดยปัจจุบันไซนั่ง เป็นชื่อเรียกเครื่องมือประมง ที่ทุกคนยอมรับ ไซนั่งประกอบด้วย โครงไม้รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์สูง 1.5 ถึง 2 เมตร ยาวประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 0.80 เมตร มีช่องเปิดสำหรับสัตว์น้ำทางหนึ่ง ปากช่องเปิดตลอด ความสูงของไซนั่ง มีงาแซงกันสัตว์น้ำว่ายน้ำย้อนกลับออกมา ทางด้านตรงข้ามทำเป็นช่องขนาดเล็ก เปิดปิดได้ อยู่ตรงส่วนล่างของไซนั่ง สำหรับเก็บรวบรวมสัตว์น้ำ ตัวโครงของไซนั่งบุด้วยอวนโพลี่ ช่องตา 1.5 เซนติเมตร มีโครงไม้ประกอบเชือกทำเป็นกว้านไม้ขัด สำหรับชักลอกตัวไซนั่งขึ้นพื้นผิวน้ำ และทำการรวบรวมสัตว์น้ำที่จับได้ ปีกแซงของไซนั่งใช้ข่ายขนาดตา 3 เซนติเมตร กางกั้นทางเดินของสัตว์น้ำ ไซนั่งหนึ่งลูกมีผลจับสัตว์น้ำโดยเฉลี่ย 1.46 กิโลกรัมต่อหนึ่งคืน ชาวประมงจะวางไซนั่งในตอนเย็นและเก็บในตอนเช้าตรู่ ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1.00 - 2.00 เมตร และจะจุดตะเกียงน้ำมันตั้งไว้ส่วนบนของไซนั่งด้วย เพื่อให้มีแสงสว่างช่วยล่อกุ้งและปลาเข้ามา ไซนั่งเป็นเครื่องมือประมงที่ใช้กันแพร่หลายในทะเลสาบสงขลาตั้งแต่บริเวทะเลสาบสงขลาตอนล่างในจังหวัดสงขลา ถึงอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำเค็มที่มีขนาดเล็ก และจับได้ครั้งละค่อนข้างมากโดยเฉพาะพวกกุ้งทะเล จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานทางด้านการประมงเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือประมงในทะเลสาบสงขลา จำนวนไซนั่งในทะเลสาบ (จังหวัดสงขลา) มีจำนวน 25,178 ลูก จังหวัดพัทลุงมี 4,426 ลูก ไซนั่งจะวางอย่างหนาแน่นที่สุดในทะเลสาบตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ขวางกั้นการขึ้นลงของน้ำ และปิดทางเดินของสัตว์น้ำเข้าสู่ทะเลสาบตอนกลาง
LINK:
โพงพาง





โพงพางเป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนรูปถุง ปากอวนติดตั้งให้การรับสัตว์น้ำที่พัดตามกระแสน้ำเข้าถุงอวน โพงพางหลักเป็นโพงพางที่พบมากที่สุด อวนเป็นรูปถุงปากกว้าง ปากอวนสูงใกล้เคียงกับความลึกของน้ำช่วงขึ้นสูงสุดขนาดประมาณ 4x4 หรือ 8x6 เมตร ความยาวจากปากอวนถึงก้นถุง 20 - 25 เมตร ตัวอวนจะเรียวเล็กลงปากอวนจะวางในทิศทางหันรับกับกระแสน้ำ มักห่างกันตามขนาดปากอวน ราว 4-8 เมตร ด้านบนมีไม้คาดไว้กันไม้หลักเอนเข้าหากัน ปากอวนจะมัดกับเสาหลัก ส่วนตัวอวนจะกดไว้ด้วยไม้กด โดยไม่ใช้ทุ่นและตะกั่วถ่วง ส่วนเนื้ออวนเป็นโพลีเอทธีลีน ที่บริเวณปากจะมีขนาดใหญ่ที่สุด แล้วเล็กลงมาตามลำดับ ส่วนที่เป็นก้นถุงยาว 1.5 - 3 เมตร มักใช้ขนาดตา 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ปลายถุงสามารถเปิดออกได้โดยมัดเชือกไว้ การวางโพงพางจะทำหลายช่องเรียงกันเป็นแถวประมาณ 6 -10 ช่อง ทำได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงน้ำขึ้นเต็มที่หรือลงเต็มที่โดยประกอบอวนเข้ากับไม้กดอวน แล้วนำไปผูกกับไม้หลัก แล้วจอดเรือไม้ที่ตำแหน่งก้นถุง รอให้กระแสน้ำพัดสัตว์น้ำเข้าอวนสักพักขึงกู้ก้นอวนขึ้นมา เทสัตว์น้ำออก แล้วมัดก้นถุงวางใหม่ต่อไป โพงพางจะใช้ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1 -6 เมตร และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี สัตว์น้ำที่จับได้ คือ กุ้ง ปู และปลาที่ชอบอยู่ในเขตน้ำกร่อย ผลกระทบ คือ จะจับสัตว์น้ำตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน และจับอย่างไม่แยกประเภท นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่จัดว่ากีดขวางทางเดินเรือทั้งขณะทำการประมง และหยุดทำการประมง เพราะปักหลักทิ้งไว้ จำนวนโพงพางในทะเลสาบสงขลา (จังหวัดสงขลา) มี 1,550 ช่อง จังหวัดพัทลุงมี 524 ช่อง ซึ่งจะมีความหนาแน่นบริเวณปากทะเลสาบสงขลา ถึงเกาะยอ
LINK:
http://www.sklonline.com/tools0003.html

December 24, 2006

เรืออวนล้อมจับปลากะตักกลางวัน ( DAY ANCHOVY PURSE SEINER)
ลักษณะของเรือมี 2 ขนาดคือ
1. เรือขนาดเล็กจะมีความยาว 7 - 16 เมตร ใช้คนประมาณ 5 - 14 คน เรือขนาดเล็กความยาวอวน 160 - 250 เมตร ขนาดของตาอวน 0.4 - 0.6 เซนติเมตร
2. เรือขนาดใหญ่จะมีความยาว 20 - 22 เมตร ใช้คนประมาณ 30 คน เรือขนาดใหญ่ความยาว 250 - 400 เมตร ขนาดของตาอวน 0.8 เซนติเมตรไม่ใช้เครื่องมือในการปั่นไฟ ใช้เครื่องมีลักษณะอวนล้อมจับแบบใช้สายมาน
เรืออวนล้อมปั่นไฟปลากะตัก (LIGHTED ANCHOVY PURSE SEINE)ประกอบด้วย เรืออวน (เรือแม่) 1 ลำ และเรือปั่นไฟ 1- 3 ลำส่วนใหญ่ 2 ลำทำหน้าที่ปั่นไฟล่อสัตว์น้ำ ความยาวเรืออวน 16 - 24 เมตร เรือปั่นไฟความยาว 9 - 14 เมตร ใช้กำลังไฟขนาด 15 - 20 กิโลวัตต์/ลำ จำนวนคน 20 - 30 คน เรือทุกลำมีเครื่องเอคโค ซาวเดอร์ ช่วยค้นหาฝูงปลา บางลำมีโซน่าร์ ใช้อวนล้อมจับแบบใช้สายมานความยาวอวน 250 - 500 เมตร ลึก 50 - 80 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ ขนาดของตาอวน 0.7 - 0.8 เซนติเมตรส่วนใหญ่ทำการประมงในน้ำลึก 20 - 45 เมตร (ฝั่งอ่าวไทย) และลึก 20 - 80 เมตร (ฝั่งอันดามัน) จะทำการประมงในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน ถึงพระอาทิตย์ขึ้น เริ่มจากเรืออวนแล่นเรือค้นหาฝูงปลา ในช่วงเย็น ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เมื่อพบฝูงปลาจะให้เรือปั่นไฟทั้งสองลำ ซึ่งแล่นตามมาแยกย้ายกัน ทอดสมอตรงจุดที่พบฝูงปลากะตัก และเปิดไฟล่อสัตว์น้ำ รอเวลาให้กระแสน้ำหยุดไหล จึงจะทำการจับสัตว์น้ำ ที่ตอมแสงไฟของเรือปั่นไฟทีละลำ จำนวนวันที่ออกทำการประมง เริ่มตั้งแต่ แรม 5 ค่ำ ถึง 12 ค่ำ หรือ 22 - 23 วัน / เดือน วางอวน 2 - 3 ครั้ง / คืน จังหวัดที่พบมากคือ ตราด ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา สตูล กระบี่ สงขลา

อวนช้อนปลากะตักปั่นไฟ ลักษณะของเรือมีความยาว 7 - 8 เมตร ส่วนใหญ่ 10 - 14 เมตร ใช้กำลังไฟขนาด 5 - 25 กิโลวัตต์ จำนวนคน 3 - 6 คน ส่วนใหญ่มีเครื่องหาฝูงปลาแบบ เอคโค ซาวเดอร์ เครื่องมืออวนช้อนปลากะตัก ความยาวอวน เท่ากับความยาวอวน เท่ากับความยาวเรือ ความลึกอวน 10 - 16 เมตร มุมอวนทั้งสองมีตะกั่วถ่วง และเชือกฉุดอวน ขนาดตาอวน 0.8 เซนติเมตร ทุกลำจะมีแหยักษ์สำหรับใช้จับหมึก โดยใช้ตามความชุกชุมของสัตว์น้ำ แหล่งทำการประมง ส่วนใหญ่น้ำลึก 20 - 45 เมตร จะทำการประมงในเวลากลางคืน เริ่มจากเรือแล่นค้นหาฝูงปลากะตักด้วยเครื่องเอคโค ซาวเดอร์ ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน จนกระทั่งพบฝูงปลากะตัก จึงทำการปั่นไฟ ซึ่งอาจทอดสมอ หรือปล่อยอวนลอยถ่วงหัวเรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง รอจนกระทั่งมีฝูงปลากะตักปรากฏหนาแน่นที่จอเครื่อง เอคโค ซาวเดอร์ โดยปิดไฟทุกดวงเหลือเพียงกลุ่มไฟสปอตไลท์กลางลำด้านที่มีเครื่องมืออวน ทำการ หรี่ - เร่ง - หรี่ไฟ สลับกัน เพื่อทำให้ปลากะตักอยู่บริเวณผิวน้ำ ภายในรัศมีการทำงานของผืนอวนเมื่อเห็นว่าปลากะตักไม่ขึ้นมามากกว่านี้อีกแล้ว จึงทำการช้อนปลากะตัก โดยฉุดเชือกผูกหัวมุมอวนขึ้นเรือด้วยกว้าน กู้อวนและ ตักปลาใส่เรือ คืนหนึ่งทำซ้ำได้หลายครั้งส่วนใหญ่ 5 - 10 ครั้ง และมีการย้ายแหล่งจับ 2 - 4 แห่ง/คืน จำนวนวันออกทำ การประมง 22 - 23 / เดือนจังหวัดที่พบเห็นเรือชนิดนี้คือ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล พังงา ระนอง
อวนครอบปลากะตักปั่นไฟ ลักษณะของเรือชนิดนี้ มีความยาว 7 - 16 เมตร แต่ส่วนใหญ่ 10 - 14 เมตร ใช้กำลังไฟขนาด 5 - 30 กิโลวัตต์ และมีเครื่องหาฝูงปลาแบบ เอคโค ซาวเดอร์เครื่องมือที่ใช้คือ อวนครอบ หรืออวนมุ้ง ลักษณะของอวนรูปกล่องสี่เหลี่ยมเปิดด้านบนและด้านล่างความยาวอวนใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับความยาวเรือ หรือ 7 - 16 เมตร ความลึกอวนขึ้นอยู่กับขนาดเรือ หรือ 18 - 30 เมตร ขนาดตาอวน 0.5 เซนติเมตร ขอบล่างสุดผืนอวน มีตะกั่ว และห่วงโลหะวงแหวนผูกเป็นระยะโดยรอบคิดเป็นน้ำหนักรวมกัน 70 - 120 กิโลกรัม และมีเชือกร้อยผ่านห่วงทุกห่วง ปลายเชือกที่เหลืออยู่บนเรือใช้ สำหรับซักรวบปิดทางออกสัตว์น้ำด้านล่างสุดของผืนอวนจะทำการประมงในแหล่งน้ำลึก 5 - 30 เมตร วิธีการทำการประมง เริ่มจากเรือแล่นค้นหาฝูงปลากะตักด้วยเครื่องเอคโค ซาวเดอร์ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินจนกระทั่งพบฝูงปลาจึงทำการทอดสมอเรือและปั่นไฟล่อสัตว์น้ำ เมื่อเห็นว่าปลากะตักรวมกันมากพอแล้วจึงทำการจับปลากะตัก โดยเตรียมรั้งอวนทั้งสี่ด้านไว้ที่ผิวน้ำ ปิดไฟทุกดวง เหลือเฉพาะกลุ่มไฟสปอตไลท์กลางลำ ด้านที่มีเครื่องมืออวนทำการหรี่ไฟ เร่งไฟ และหรี่ไฟ สลับกันจนกระทั่งเห็นว่าเหมาะสม จึงปล่อยอวนลงไปครอบฝูงปลาที่อยู่บริเวณแสงไฟ แล้วรีบกว้านเชือกที่ร้อยผ่านห่วงปิดด้านล่างของผืนอวนทันที เพื่อไม่ให้สัตว์น้ำหนีออกได้ กู้อวนและตักปลาใส่เรือ ทำซ้ำใหม่ หรือย้ายแหล่ง จับคืนหนึ่งส่วนใหญ่ครอบสัตว์น้ำ 5 - 10 ครั้ง จำนวนวันที่ออกทำการประมง 22 - 23 วัน/เดือนจังหวัดที่เรือชนิดนี้ทำการประมง คือ ตราด ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต พังงา ตรัง สตูล
อวนลาก(TRAWLS)
หลังจากที่รัฐบาลไทยในอดีตได้เริ่มมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การประมงไทยก็ได้เริ่มพัฒนาขึ้น มีการนำเอาเครื่องมืออวนลากหน้าดินแบบแผ่นตะเฆ่เข้ามาทดลองใช้ในน่านน้ำไทย และได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก รัฐฯจึงให้การสนับสนุนการทำประมงอวนลากแก่เอกชน กองเรือประมงไทยภายใต้ระบอบการทำประมงแบบเสรีจึงเริ่มขึ้นสำแดงเดชในคาบสมุทรมาลายูและบริเวณใกล้เคียง อวนลากแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. อวนลากเดี่ยว หรืออวนลาก (OTTER - BOARD TRAWLS)มีลักษณะเหมือนกับเครื่องมืออวนลากเรือสองลำหรือเรือลากคู่ คือเป็นอวนมีถุงประกอบกัน ใช้เรือยนต์เพียงลำเดียวทำการลากสัตว์น้ำในระดับต่างๆ ได้ผลดี อวนจะกางออกกวาดสัตว์น้ำ โดยมีแผ่นกระดานน้ำซึ่งเรียกว่า แผ่นตะเฆ่ ทำหน้าที่ให้ปากอวนขยายออกไป เรือชนิดนี้สามารถทำการประมงได้ตลอดทั้งปี ทำได้ทั้งกลางวัน กลางคืน นิยมลากตามน้ำและทวนน้ำ ชาวประมงจะนำอวนลากแผ่นตะเฆ่ไว้ท้ายเรือ เมื่อถึงแหล่งทำการประมงก็จะปล่อยอวนลงน้ำพร้อมทั้งแผ่นตะเฆ่ไว้ท้ายเรือโดยบังคับให้เรือเดินหน้าเบาๆ จากนั้นค่อยๆ ผ่อนสายลากลงน้ำไปเรื่อยๆ แผ่นตะเฆ่จะต้านน้ำซึ่งทำให้อวนกางออกรับเนื้อที่จับปลาได้มากขึ้น การปล่อยอวนจะมีหัวหน้าชาวประมงที่เรียกว่า "คนนำลาก" เป็นคนควบคุม เมื่อปล่อยสายลากประมาณ 3 - 5 เท่าความลึกของน้ำ เมื่อปล่อยสายลากจนได้ระยะตามต้องการแล้วก็จะบังคับให้เรือเร่งเครื่องยนต์เดินหน้า ลากอวนไปประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ก็จะทำการกว้านอวนขึ้นเรือด้วยเครื่องกว้านเครื่องยนต์ โดยบังคับให้เรือเดินหน้าเบาๆ เพื่อทำการจับสัตว์น้ำที่ตกขังอยู่ที่ก้นถุง สัตว์น้ำที่จับได้แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ

(1) ปลาเลยหมายถึงสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาทรายแดง ปลาสาก ปลาปากคม ปลาตาโต ปลากะพง ปลาจาระเม็ด กุ้ง และหมึกต่างๆ ฯลฯ
(2) ปลาเป็ดหมายถึงสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจน้อยไม่ใช้บริโภค ได้แก่ ปลาแป้น ปลาอมไข่ ปลาวัว ปลาสลิดหิน และปลาต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก
2. อวนลากคู่ (PAIR TRAWLS NET)เป็นเครื่องมือที่ชาวญี่ปุ่นนำเข้ามาในประเทศไทย ลักษณะของเครื่องมือนั้นเป็นอวนมีถุงกับปีกประกอบกัน ขนาดของตาอวนนั้นถี่ ปีกนั้นทำหน้าที่กันสัตว์น้ำให้ลงสู่ตัวอวน ถุงทำหน้าที่จับสัตว์น้ำ ใช้ทำการลากจับสัตว์น้ำ หน้าดินด้วยเรือยนต์ 2 ลำ ขนาดเท่ากัน แต่ละลำตอนหัวเรือมีเครื่องกว้านสำหรับดึงและยกอวน และใช้เป็นที่เก็บสายลากอีกด้วย มีห้องเก็บปลาประมาณ 5 - 6 ห้อง ตอนกลางลำเรือมีเครื่องกว้านรูปทรงกระบอกสั้นเว้า ติดอยู่ 2 ข้างลำเรือ ใช้กำลังหมุนจากเครื่องจักรใหญ่ ส่วนตอนท้ายเรือทำเป็นลานเรียบออกไปเล็กน้อย และมีรอกรองรับสายลวดติดอยู่ทั้งสองข้าง สำหรับเรือบางลำที่มีขนาดเล็กบนหลังคาท้ายเรือก็จะมีเครื่องกว้านติดอยู่ ใช้ซ่อมดึงและเก็บอวน ใช้ชาวประมงลำละ 6 - 7 คน คนเรือ 3 คน สถานที่ทำการประมงบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไป ความลึก 10 - 50 เมตร พื้นที่ท้องทะเลเป็นโคลนเหลวหรือโคลนเหลวปนทราย ทำการประมงได้ ตลอดปีเครื่องมืออวนลากคู่นิยมใช้ทำการประมงในเวลากลางวัน นิยมลากตามน้ำหรือลากทวนน้ำ เมื่อถึงที่ๆ ต้องการทำการประมงแล้ว จะปล่อยอวนลากลงจากลำใดลำหนึ่งแล้วทำการปล่อยเชือกนั้น มีความยาวสุดแท้แต่ความลึก ของน้ำ ส่วนเรือทั้งสองลำจะแยกออกจากกันให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ปีกอวนกางขยายออกให้มากซึ่งปีกนั้นจะทำหน้าที่กางกั้นปลาให้วิ่งเข้าสู่ตัวอวน ทุ่นที่ผูกติดอยู่ข้างบนจะทำให้อวนส่วนบนลอยน้ำ ทำให้อวนกางออก เป็นรูปถุงปากกว้างกวาดจับปลาที่อาศัยอยู่ก้นทะเล เมื่อปล่อยสายลากไปได้สักระยะหนึ่งตามต้องการแล้ว ก็บังคับให้เรือเร่งเครื่องยนต์เดินหน้าลากอวนไป เมื่อลากอวนไปประมาณ 3 - 4 ชั่วโมงแล้ว ก็กว้านอวนขึ้นด้วย เครื่องกว้านเครื่องยนต์ โดยจะบังคับให้เรือเดินหน้าหมดและหันเรือเข้าหากัน เมื่อกว้านจนถึงปลายเรือทั้งสองลำก็จะมาบรรจบกันพอดี หลังจากนั้นจึงยกก้นถุงอวนขึ้นมาบนเรือด้วยเครื่องกว้านหัวเรือนำสัตว์น้ำที่ได้ออก จากถุง สัตว์น้ำที่จับได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ(1) ปลาเลย หมายถึง สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจได้แก่หมึก ปลาทรายแดง ปลาสาก ปลาปากคม ปลากดทะเล ปลาจะละเม็ด ปลาลิ้นหมา ปลากด ปลาริวกิว ปลากะพง และกุ้งเป็นต้น(2) ปลาเป็ด หมายถึง สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจน้อยได้แก่ ปลาอมไข่ ปลาแป้น และลูกปลาเศรษฐกิจขนาดเล็ก เป็นต้น
3. อวนลากคานถ่าง (BEAM TRAWLS)มีลักษณะเหมือนกับอวนลากเดียวทั่วๆ ไป แต่เรือที่ใช้มีขนาดเล็กเป็นเรือหางยาวเครื่องยนต์ประมาณ 8 - 10 แรงม้า ขนาดของปากอวนกว้างประมาณ 3.50 - 4.00 เมตร ยาว 5.00 เมตร ขนาดของตาอวนก้นถุง (ตาเหยียด) 1.6 เซนติเมตร จำนวน 2 ปาก ต่ละปากมีตุ้มถ่วงน้ำหนักทำจากซีเมนต์หล่อขนาด 15 - 18 กิโลกรัม ปากละ 2 ลูก เพื่อช่วยให้อวนจม ตอนปลายของปากอวนจะมีสกีไม้ความยาว 10 นิ้ว ผูกติดอยู่เพื่อให้ความ สูงของปากอวนอยู่ในระดับคงที่ ตอนคร่าวล่างของอวนจะถ่วงด้วยตะกั่วตลอดแนวเพื่อให้อวนจม ความกว้างของปากอวนแต่ละปากจะถูกถ่วงด้วยแป๊ปน้ำความยาวประมาณ 1.2 เมตร ซึ่งแป๊ปน้ำนี้จะผูกยึดกับคานไม้ ซึ่งยื่นออกมาจากสองข้างของเรือ เพื่อช่วยให้ระยะห่างระหว่างอวนทั้ง 2 ปากอยู่อย่างเหมาะสมไม่ใกล้ชิดกันมากนัก เครื่องมือนี้ใช้ทำการประมงบริเวณชายทะเลน้ำตื้นนิยมใช้เครื่องมือนี้ทำการประมงทั้งในเวสากลางวันและกลางคืน นิยมลากตามน้ำและทวนน้ำ เมื่อถึงแหล่งทำการประมงชาวประมงจะกางคันถ่างออกทั้งสองข้างของลำเรือ โดยใช้บังคับให้เรือเดินหน้าเบาๆ พร้อมกับ ปล่อยอวนลงไปพร้อมกันทั้งสองปาก จากนั้นค่อยๆ ปล่อยเชือกลงไปเรื่อยๆ การลากนั้นใช้ระดับความยาวของสายลาก 3 - ค เท่าของความลึกของน้ำ เมื่อปล่อยสายลากตามที่ต้องการก็บังคับให้เรือเดินหน้าลากอวนต่อไป ทำการลากอวนประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง ก็หยุดเรือดึงคานถ่างหมุนเข้าตัวเรือแล้วสาวเชือกอวนขึ้นเรือทีละปากเพื่อจับสัตว์น้ำแล้วจึงปล่อยอวนลากปลาต่อไป สัตว์น้ำที่จับได้เป็นกุ้ง ปู และหอย สำหรับปลานั้นเกือบจะไม่พบ เลยเนื่องจากการลากอวนน้อยมาก แต่ก็ทำลายล้างทรัพยากรทะเลได้ไม่น้อยเช่นกัน
4. อวนลากแคระ (TRAWLS)ลักษณะจะคล้ายๆ เรืออวนลาก แต่ขนาดเล็กกว่า และทำการประมงโดยอาศัยกุ้งเป็นหลักส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 7 - 18 เมตร มักมีกางเขน ซึ่งเป็นไม้ยื่นออกไปทั้งสองข้างของกราบเรือและมีแผ่นตะเฆ่ด้วยวีธีการทำประมงจะคล้ายเรืออวนลากเดียว เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น แต่ทว่าการทำลายล้างมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยจากสถิติการประมงในปี พ.ศ.๒๕๐๔ เรืออวนลากสามารถจับสัตว์น้ำได้ในอัตราเฉลี่ย ๒๙๗.๖ กก. ต่อการลาก ๑ ชม. ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจับของเครื่องมืออวนลาก และความสมบูรณ์ของทรัพยากร ประมงในทะเลไทยในอดีต ในปี ๒๕๒๘ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เฉลี่ยลดลงเหลือ ๕๔ กก./ ชม. โดยเครื่องมือชนิดเดียวกัน และในปี ๒๕๔๑ ลดลงเหลือ ๗ กก./ ชม. เท่านั้น และปลาที่จับได้เป็นปลาเล็กปลาน้อยที่ไม่มี ราคา หากไม่คิดหาทางแก้ไขวิกฤตนี้แล้ว คาดกันว่าภายในปี ๒๕๔๖ จะเหลือปลาให้จับไม่เกิน ๑ กิโลกรัมต่อชั่วโมง จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นความเสื่อมโทรมของทะเลไทยเข้าสู่วิกฤตแล้ว
จากสถิติการประมงของกรมประมง แสดงให้เห็นสถานภาพของทรัพยากรประมงในน่านน้ำทะเลไทยเสื่อมโทรมลงผลผลิตที่ได้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ การลดลงของทรัพยากรประมง ไม่ใช้เกิดจากการนำเอาสัตว์น้ำขึ้นมา ใช้มากเกินไปเท่านั้น แต่ยังมีการใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายล้างทรัพยากรชายฝั่ง เช่น แหล่งหญ้าทะเล แนวปะการัง และดอนหอย ยกตัวอย่างเช่น อวนลาก อวนรุน เรือไฟปั่นปลากะตัก ซึ่งวิธีการทำประมงดังกล่าวเป็น การทำลายระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสื่อมโทรมของทะเลไทยให้ทรุดหนักยิ่งขึ้นจากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี ๒๕๓๘ ระบุว่ามีเรือประมงถึง ๕๐,๐๐๐ ลำ เป็นเรืออวนลากจำนวนครึ่งหนึ่งและมีขนาดตาอวนที่ถี่มากเกินไป สามารถจับสัตว์น้ำได้ทุกขนาด แม้ว่าจะเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก หรือ ลูกสัตว์น้ำที่ยังโตไม่ได้ขนาด ลักษณะเช่นนี้เป็นการทำประมงแบบนี้เป็นทำลายล้าง และใช้ทรัพยากรมากเกินกว่าศักยภาพการผลิตของท้องทะเล ปัญหานี้เริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการใช้ทรัพยากรประมงระหว่างกลุ่มประมงพาณิชย์กับกลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น

December 11, 2006

เครื่องมือทำการประมง ( อวนรุน )

อวนรุน


อวนรุนเป็นเครื่องมือประมงทะเลชนิดหนึ่ง ที่พัฒนามาจากระวะซึ่งทำการรุนไสด้วย แรงคนเพื่อจับสัตว์น้ำจำพวก กุ้ง ปู ปลา และกุ้งเคย ตามบริเวณชายฝั่ง ต่อมาได้พัฒนาใช้เรือ และเครื่องยนต์แทนแรงงานคน ทำให้สามารถออกทำการประมงได้ไกลฝั่งมากขึ้น

ลักษณะของเครื่องมือประมงอวนรุนประกอบด้วย

- เรือและเครื่องยนต์ โดยเรืออวนรุนขนาดใหญ่ จะมีความยาวเรืออยู่ระหว่าง 14-20 เมตร กว้างประมาณ 2.5 เมตร ขนาดของเครื่องยนต์ที่ใช้จะมีขนาด 112-350 แรงม้า และสำหรับ เรืออวนรุนขนาดเล็ก จะใช้เรือหางยาวและเรือ "กอและ"อีกประเภทหนึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่า จะมีความยาวใกล้เคียงกับเรือหางยาว แต่ความกว้างของเรือจะกว้างกว่าประมาณ 3 เท่าและวางเครื่องยนต์ไว้กลางลำ ขนาดของเครื่องยนต์ที่ใช้จะมีขนาดตั้งแต่ 4-80 แรงม้า

- คันรุน คันรุนที่ใช้สำหรับเรืออวนรุนขนาดใหญ่ จะเป็นไม้ตะเคียนซุย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว ความยาวประมาณ 24-34 เมตร และเหล็กสแตนเลสกลวงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-14 นิ้ว ความยาวระหว่าง 24- 50 เมตร และสำหรับคันรุนที่ใช้กับเรืออวนรุนขนาดเล็ก จะใช้ไม้ไผ่ธรรมดา

- ขนาดตาอวน ทั้งเรืออวนรุนเล็กและเรืออวนรุนใหญ่ เนื้ออวนที่ใช้ประกอบกันเป็น 3 ชิ้น คือ เนื้ออวนบน เนื้ออวนล่างและก้นถุง โดยมีขนาดลดหลั่นกันไปจาก 2.50-3.00 เซนติเมตร ที่ปากอวนถึง 0.5-1.50 เซนติเมตรที่ก้นถุง เมื่อเปรียบเทียบความกว้างปากอวนของอวนรุนใหญ่จะกว้างกว่าอวนเล็กประมาณ 4 เท่า และยาวกว่าประมาณ 2.5 เท่า

- ลักษณะการทำประมง เรืออวนรุนขนาดใหญ่จะใช้คนทำการ 4-5 คนในคืนหนึ่งๆ จะทำการได้ประมาณ 8-10 ครั้งๆประมาณ 45-60 นาทีในระดับความลึก 6-10 เมตร ในเดือนหนึ่งจะทำการรุน ได้ประมาณ 15-20 วันและใน 1 ปี จะทำการประมงได้ 8 เดือน สำหรับเรืออวนรุนเล็กจะเป็นธุรกิจภายในครัวเรือน จะใช้คนทำการเพียง 2 คน คืนหนึ่งๆ จะทำการรุนได้ประมาณ 6-10 ครั้งๆละประมาณ 20-30 นาที ในระดับความลึก 2-6 เมตรในแต่ละเดือนจะทำการประมงได้ 15-20 วัน ปีหนึ่งจะทำการรุนได้ประมาณ 8 เดือนเช่นกัน

- การทำประมงอวนรุน ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในทะเลฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่เมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัด แต่จากสถิติจำนวนเรืออวนรุนที่เริ่มจดทะเบียนไว้ตั้งแต่ปี 2513 มีจำนวน 354 ลำ และเพิ่มขึ้นเป็น 1,628 ลำในปี 2516 ในปี 2523 มีสูงสุดถึง 2,262 ลำและในปี 2532 มี 1,907 ลำจึงสันนิฐานได้ว่าอวนรุนน่าจะเกิดขึ้นราวๆปี 2510 แต่ก็ยังมีไม่มากนักทั้งนี้เพราะอวนรุนจับปลาเป็ด ได้มาก และตลาดมีจำกัดประกอบกับสัตว์น้ำยังมีราคาถูก จึงไม่คุ้มทุน จวบจนปี 2513 ที่เริ่มมีโรงงานปลาป่นเกิดขึ้น ทำให้ปลาเป็ดมีราคาสูงขึ้น จำนวนเรืออวนรุนจึงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับจากปี 2513 เป็นต้นมา



การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการประมงอวนรุน

จากการศึกษาของศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง กรมประมง ผลจากการศึกษาสภาวะการประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พบว่าสัดส่วนลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้ จากการทำประมงอวนรุน มีความแตกต่างกันมากระหว่างอวนรุนใหญ่และอวนรุนเล็กมีค่าเท่ากับ 58:42 และ 70:30 ตามลำดับ เมื่อเฉลี่ยสัดส่วนของอวนรุนทั้ง 2 ประเภทมีค่าเท่ากับ 60 40จากสัดส่วนดังกล่าวนี้นำมาประเมินหาปริมาณ ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ปะปนอยู่ในปลาเป็ด โดยน้ำหนักของอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างที่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 836 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.23 ล้านบาท (สถิติกรมประมง , 2533) คิดเฉลี่ยโดยน้ำหนักเป็น ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ในปลาเป็ดทั้งสิ้น 502 ตัน จะเห็นว่าในปีหนึ่งๆ อวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทำลายลูกสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้เพราะอวนรุนมักจะทำการ ประมงบริเวณใกล้ฝั่งหรือกล่าวได้ว่าอยู่ในเขต 3,000 เมตรทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ยกเว้นการทำประมงอวนรุนใหญ่ในบางฤดูการเท่านั้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลง ซึ่งในการจัดการประมง นับว่าเป็นการใช้ ทรัพยากรไปอย่างขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือ แทนที่จะปล่อยให้สัตว์น้ำที่ยังเติบโตไม่ได้ขนาดนั้น เจริญเติบโตไป อีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขนาดและมูลค่า และ ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า กับการนำเอาสัตว์ที่ยังมีขนาดเล็กมากมาใช้และขายในราคาต่ำรวมกับปลาเป็ด หากมีการชะลอการจับลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจเหล่านี้ให้โตขึ้นมาจนขนาดพอควร สัตว์น้ำต่างๆ จะมีโอกาสขยายพันธุ์ให้ลูกสัตว์น้ำไว้สืบต่อทดแทนสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่ถูกจับไป ทรัพยากรก็จะไม่เสื่อมโทรมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จากการศึกษาดังกล่าว ได้รายงานให้เห็นความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุน บริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 สามารถประเมินให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากเรืออวนรุนที่ทำการประมงทั้ง 4 แหล่ง คือ
บริเวณอ่าวปัตตานี,บริเวณนอกอ่าวปัตตานี,บริเวณทะเลสาบตอนนอกของทะเลสาบสงขลา,บริเวณอ่าวนครฯ จ.นครศรีธรรมราช จะประกอบด้วยอวนรุนใหญ่ประมาณ 80 ลำและอวนเล็กประมาณ 400 ลำ เรือดังกล่าวสามารถออกทำประมงได้เต็มที่ประมาณ 8 เดือนๆละ 20 วัน ฉะนั้นสามารถคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากการที่อวนรุนจับสัตว์น้ำขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสม มีมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 135 ล้านบาทต่อปี เมื่อพิจารณาจากผลผลิต ปลาเป็ดและมูลค่าบริเวณอ่าวไทยตอนล่างปี 2533ปลาเป็ดมีราคาเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 2,667 บาท/ตัน หรือ 2.27 บาท/กก. จากผลผลิตปลาเป็ดทั้งหมดประเมินได้ว่าเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจอยู่ถึง 502 ตัน เมื่อขายเป็นปลาเป็ดจะได้มูลค่าเพียง1.34 ล้านบาทเท่านั้น ดั้งนั้นการประมงอวนรุนจึงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 135 ล้านบาท
LINK>>ข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งทำการประมง



แหล่งทำการประมง (Fishing Ground)

การจำแนกแหล่งทำการประมง สามารถจำแนกได้ดังนี้ จำแนกตามลักษณะแหล่งน้ำ ดังนี้
1. น้ำจืด • น้ำนิ่ง (Lentic water) ได้แก่ หนอง บึง ทะเลสาบ บ่อ เป็นต้น
• น้ำไหล (Lotic water) ได้แก่ แม่น้ำ คลอง เป็นต้น
2. น้ำเค็ม • ชายฝั่ง (Coastal) • ใกล้ฝั่ง (Inshore)
• นอกฝั่ง (Offshore) • ทะเลลึก/ทะเลหลวง (Deep Sea/High Sea) จำแนกตามกลุ่มชาวประมง ดังนี้
1. ประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก
2. ประมงพาณิชย์
• ในน่านน้ำไทย • นอกน่านน้ำไทย จำแนกตามชนิดสัตว์น้ำ ดังนี้
1. ปลาผิวน้ำ (Pelagic Fish)
2. ปลาหน้าดิน (Demersal Fish)

ปัจจัยที่มีผลต่อแหล่งทำการประมง
• ที่ตั้ง • สภาพอากาศของลมมรสุม • ความเค็มและออกซิเจน • การหมุนเวียนของกระแสน้ำ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างลองติจูด 97 องศาตะวันออก และ 106 องศาตะวันออก และระหว่างแลตติจูด 5 องศาเหนือ และ 21 องศาเหนือ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีด้านที่ติดทะเล 2 ด้าน คือ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน

แหล่งทำการประมงทะเลของประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ คือ
1) แหล่งประมงในน่านน้ำไทย - แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย - แหล่งทำการประมงทางฝั่งอันดามัน
2) แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย
แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางฝั่งอ่าวไทย เป็นดังนี้
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 1,875 กิโลเมตร
- ลักษณะสภาพของทะเลในอ่าวไทยมีลักษณะเป็นที่ลาด
- มีความลึกไม่มากนัก ประมาณ 70-85 เมตร
- สภาพพื้นท้องทะเลเป็นโคลน โคลนปนทราย ทรายปนโคลน และทราย
- เป็นอ่าวแบบกึ่งปิด
- แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย ดังนี้
•เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง (อ่าวไทยตอนบน) •เวฬุ ระยอง (ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย)
•ตาปี (ฝั่งตะวันตกคอนใต้ของอ่าวไทย)-ลมมรสุม •ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ –ตามเข็มนาฬิกา
•ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้-ทวนเข็มนาฬิกา
- แหล่งทำการประมงในอ่าวไทยตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 252,000 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางฝั่งอ่าวไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
เขต EEZ ของไทย 252,000 ตร.กม. และเขตทับซ้อนต่างๆ ดังนี้
• ไทย-กัมพูชา 34000 ตร.กท. • ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม 14000 ตร.กม. • ไทย-มาเลเซีย 4000 ตร.กม.

เขตการประมงทางฝั่งอ่าวไทยแบ่งออกเป็น 5 เขต ดังนี้
• เขต 1 อ่าวไทยด้านตะวันออก ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดตราด,จันทบุรีและระ
• เขต 2 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
• เขต 3 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี
• เขต 4 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
• เขต 5 อ่าวไทยตอนกลาง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่บริเวณกลางอ่าวไทย มีอาณาเขตติดต่อกับเส้นแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซีย เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ลักษณะพื้นท้องทะเลบริเวณชายฝั่งของเขต 1 เป็นทรายปนโคลนและเปลือกหอย บริเวณห่างฝั่งออกไปเป็นทรายปนเปลือกหอย เขต 2, 3 และ 5 ส่วนใหญ่เป็นโคลนเลน เขต 5 พื้นท้องทะเลมีลักษณะเป็นโคลนเหลว แต่ห่างจากฝั่งออกไปจะเป็นโคลนปนทรายกับทรายและเปลือกหอย พื้นท้องทะเลในเขต 1 และ 2 ราบเรียบเหมาะสำหรับการลากอวน บางส่วนของเขต 3, 4 และ 5 ไม่สามารถจะลากอวนได้โดยเฉพาะในเขต 5 ซึ่งอยู่กลางอ่าวและพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นสันสูง 1-2 เมตร

แหล่งทำการประมงฝั่งอันดามัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นดังนี้
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 740 กิโลเมตร
- เป็นที่ราบลาดชัน มีความลึกมากกว่าทางอ่าวไทย
- แม่น้ำที่ไหลเข้าสู่ทะเลอันดามันส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ
- ลักษณะของพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่เป็นโคลนปนทราย
- เป็นลักษณะของไหล่ทวีปที่ค่อนข้างแคบ
- มีความลึกของน้ำมากและกระแสน้ำแรง บางแห่งห่างจากฝั่งประมาณ 30 กิโลเมตรก็จะมีความลึกของน้ำเกิน 100 เมตร
- ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยตรง
- มีแหล่งปะการังมาก
- แหล่งทำการประมงด้านทะเลอันดามันตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 126,000 ตารางกิโลเมตร

เขตการประมงแบ่งเป็น 2 เขต คือ
• เขต 6 ทะเลอันดามันตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
• เขต 7 ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล

แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ
• แหล่งประมง A ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนบน
• แหล่งประมง B ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง
• แหล่งประมง C ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา
• แหล่งประมง D ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศพม่า
• แหล่งประมง E ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศบังคลาเทศพื้นที่ทำการประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ประเทศที่มีการทำสัญญาทำการประมงร่วม ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ อินเดีย และซาอุดิอาระเบีย
LINK >> ข้อมูลเพิ่มเติมที่

พระราชบัญญัติการประมง


พระราชบัญญัติ
การประมง
พ.ศ. ๒๔๙๐
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พระยามานวราชเสวี
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
(นิยาม "สัตว์น้ำ" แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘)(๑ ทวิ)
"ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้สัตว์น้ำตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อเป็นวัตถุดิบ
((๑ ทวิ) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘)
(๒) "ทำการประมง" หมายความว่า จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่าหรือเก็บสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือทำการประมงหรือด้วยวิธีใด ๆ
(๓) "เครื่องมือทำการประมง" หมายความว่า เครื่องกลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสา หลัก หรือเรือ บรรดา ที่ใช้ทำการประมง
(๔) "เรือ" หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด
(๕) "ที่จับสัตว์น้ำ" หมายความว่า ที่ซึ่งมีน้ำขังหรือไหล เช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บ่อ เป็นต้น และหาดทั้งปวง บรรดาซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งป่าไม้ และพื้นดินซึ่งน้ำท่วมในฤดูน้ำไม่ว่าจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ และภายในเขตน่านน้ำไทยหรือน่านน้ำอื่นใด ซึ่งประเทศไทยใช้อยู่หรือมีสิทธิที่จะใช้ต่อไปในการทำการประมง โดยที่น่านน้ำเหล่านั้น ปรากฏโดยทั่วไปว่ามีขอบเขตตามกฎหมายท้องถิ่น หรือธรรมเนียมประเพณี หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสนธิสัญญาหรือด้วยประการใด
"ใบอนุญาต" หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่บุคคลใดใช้ทำการประมง หรือทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต
(๑๐) "อาชญาบัตร" หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมง
(๑๑) "ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับประทานบัตร ใบอนุญาต อาชญาบัตร หรือผู้ได้รับอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๒) "เครื่องมือประจำที่" หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งใช้วิธีลงหลักปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง
(๑๓) "เครื่องมือในพิกัด" หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งระบุชื่อ ลักษณะ หรือวิธีใช้ไว้ในกฎกระทรวง
(๑๔) "เครื่องมือนอกพิกัด" หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าเป็นเครื่องมือในพิกัด